ประวัติศาลเจ้าแซ่ซิ้ม
ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าแซ่ซิ้ม กรุงเทพมหานคร
คุณธรรมอันประเสริฐอย่างหนึ่งของมนุษย์เราก็คือ ต้องระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษด้วยการให้ความเคารพสักการะ และให้ความเมตตาปราณีเอ็นดูรักใคร่แก่ผู้เยาว์ซึ่งเป็นอนุชนรุ่นหลัง นักปราชญ์จีนสมัยโบราณได้พยายามพร่ำสอนคุณธรรมข้อนี้แก่คนจีนรุ่นหลังๆ ทุกยุคทุกสมัยตลอดมา พวกเราชาวตระกูลซิ้มทั้งหลายซึ่งได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในประเทศไทย นับเป็นเวลาร้อยๆ ปีล่วงมาแล้วนั้น ต่างซาบซึ้งในคำสอนดังกล่าวข้างต้นนี้มานานแล้ว
ดังนั้นในปี ค.ศ.1886 หัวหน้าชาวตระกูลซิ้ม 3 ท่าน ได้แก่ นายบ้วนเช้ง แซ่ซิ้ม , นายย่งกือ แซ่ซิ้ม และนายโจหงวน แซ่ซิ้ม มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า ชาวแซ่ซิ้มที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในย่านวงเวียนใหญ่ เขตธนุบรี กรุงเทพมหานคร มากขึ้นเป็นลำดับ จึงได้ริเริ่มก่อตั้งศาลเจ้าแซ่ซิ้มขึ้น ซึ่งความคิดนี้ ได้รับความสนับสนุนจากบรรดาลูกหลานชาวแซ่ซิ้มอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยลูกหลานชาวแซ่ซิ้มที่ร่วมบริจาคเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดในครั้งนั้นมีจำนวน 225 คน เมื่อรวบรวมเงินบริจาคได้แล้ว จึงได้ทำการซื้อที่ดินติดถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมทั้งสิ้น 2 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา ด้วยราคา 540 บาท และดำเนินการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้ม ขึ้นบนที่ดินนั้น รวมงบประมาณทั้งที่ดินและการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้ม เป็นจำนวน 1,862 บาท ลูกหลานชาวแซ่ซิ้ม จึงได้มีศาลเจ้าสำหรับสักการะบูชาบรรพบุรุษ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และนับเป็นศาลเจ้าประจำตระกูลที่ก่อตั้งขึ้นมาก่อนตระกูลอื่นใดทั้งหมด
ศาลเจ้าแซ่ซิ้มในสมัยนั้น ตัวอาคารมีเนื้อที่เพียง 20 ตารางวาเท่านั้น และโครงสร้างเป็นแบบง่ายๆ เมื่อการเวลาผ่านพ้นไป ตัวอาคารก็เริ่มเก่าแก่และชำรุดลง ประกอบกับพี่น้องร่วมตระกูลแซ่ซิ้มของเรามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ลูกหลานชาวตระกูลแซ่ซิ้ม และมิใช่แซ่ซิ้มพากันมากราบไหว้บูชาที่ศาลเจ้ามากขึ้น คณะกรรมการชาวตระกูลแซ่ซิ้มจึงได้ทำการซ่อมแซมและขยับขยายให้กว้างขวางออกไปอยู่เรื่อยมา
จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการในตระกูลแซ่ซิ้ม ได้แก่ นายเทียนฮ้อ แซ่ซิ้ม(สิมะวรา) , นายชนะ สิมะชาติ , นายกลิ่น ศิริสมบัติยืนยง และ นายโอวเจีย(กุ้ยเอี้ยง) แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) ได้ปรึกษาหารือกัน และเห็นสมควรว่า จะก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มขึ้นใหม่ให้กว้างขวางและงดงามยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพราะศาลเจ้าหลังเดิมนอกจากจะชำรุดทรุดโทรมทุกวันแล้ว บริเวณศาลเจ้ายังคับแคบไม่พอเพียงแก่ลูกหลานชาวตระกูลแซ่ซิ้ม และประชาชนอื่นทั่วไปที่เข้ามาทำพิธีกรรม กราบไหว้บูชา คณะกรรมการผู้ริเริ่มทั้ง 4 คน ต่างมีความเห็นพร้อมต้องกันว่า ควรจะก่อสร้างอาคารศาลเจ้าหลังใหม่ขึ้น
หลังจากได้มีการปรึกษาหารือวางแผนกันหลายครั้งแล้ว คณะกรรมการผู้ริเริ่มทั้ง 4 คน ก็ได้ไปขอความเห็นจากผู้ร่วมตระกูลแซ่ซิ้มอีกหลายท่าน ปรากฏว่าได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดี ยังผลให้คณะกรรมการผู้ริเริ่มมีกำลังใจในการทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย ชาวตระกูลแซ่ซิ้มได้จัดให้มีการประชุมขึ้น เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้าง และมีผู้ที่เป็นคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้างดังนี้ คือ
1. นาย เทียนฮ้อ แซ่ซิ้ม ประธานกรรมการ
2. นาย ชนะ สิมะชาติ รองประธานกรรมการ
3. นาย กลิ่น ศิริสมบัติยืนยง รองประธานกรรมการ
4. นาย เต็กเม่งฮวด แซ่ซิ้ม กรรมการเหรัญญิก
5. นาย วิบูลย์ สินประสงค์ กรรมการรองเหรัญญิก
6. นาย กวงตง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขานุการ
7. นาย กิมกุ่ง แซ่ซิ้ม กรรมการรองเลขานุการ
8. นาย ไฮง้วน แซ่ซิ้ม กรรมการ
9. นาย เลี่ยงเฮง แซ่ซิ้ม กรรมการ
10. นาย บูหั่ง แซ่ซิ้ม กรรมการ
11. นาย ซงซัว แซ่ซิ้ม กรรมการ
12. นาย โอวเจีย แซ่ซิ้ม กรรมการปฏิคม
13. นาย ชุนเป้ง แซ่ซิ้ม กรรมการรองปฏิคม
14. นาย กิมกวง แซ่ซิ้ม กรรมการควบคุมทั่วไป
15. นาย ประชา สิมะชาติ กรรมการตรวจสอบบัญชีการเงิน
16. นาย คุนกี่ แซ่ซิ้ม กรรมการตรวจสอบบัญชีการเงิน
และในขณะที่กำลังทำการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มอยู่นั้น คณะกรรมการก็ได้มอบให้นายวิบูลย์ สินประสงค์ เป็นผู้ไปขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ชื่อว่า มูลนิธีสีมาสงเคราะห์ (ซิ้มกงจืออี่) โดยมีนาย วิบูลย์ สินประสงค์ ได้บริจาคทรัพย์เพื่อเป็นทุนดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในขั้นตอน จำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาท
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ มีดังนี้คือ
1. ส่งเสริมการกุศล และสาธารณะกุศล
2. ส่งเสริมการศึกษาวัฒนธรรม
3. ช่วยเหลือผู้ประสงภัยต่างๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น
4. จัดตั้งสถานพยาบาล โรงเรียน สุสาน ณาปนสถาน ศาลบูชาผู้ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจน สาธารณะกุศล ทั่วไป ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด ซึ่งนำโดย ประธานมูลนิธิสีมาสงเคราะห์ ท่านแรก คือ พล ร.ต. ประสิทธิ์ ใบเงิน
จากนั้นคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้าง ก็ได้ดำเนินการก่อสร้างไปจนกระทั่งงานก่อสร้างได้บรรลุผลสำเร็จ ด้วยความช่วยเหลือของลูกหลานชาวตระกูลแซ่ซิ้มทุกคนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ทำการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มหลังใหม่นี้ได้สำเร็จเป็นเวลาทั้งสิ้น 3 ปีเศษ โดยช่างผู้ชำนาญสร้างตามแบบอย่างของจีนสมัยโบราณ ซึ่งมีฝีมือในการก่อสร้างได้วิจิตรงดงามมากเพื่อที่จะได้เป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังสืบต่อไป ณ ปี ค.ศ. 1965 มูลค่าทรัพย์สินของศาลเจ้าแซ่ซิ้มมีมูลค่ากว่า 700,000 บาท
ชาวตระกูลซิ้มทุกคนในสมัยนั้นย่อมตระหนักดีว่า การที่เราสามารถก่อสร้างศาลเจ้าหลังใหม่นี้ขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ ก็ด้วยความพยายามและความเสียสละของชาวตระกูลแซ่ซิ้มทุกคน ซึ่งคุณงามความดีของบรรดาท่านผู้มีส่วนช่วยเหลือในครั้งนี้ ย่อมจะได้จารึกลงในประวัติของชาวตระกูลแซ่ซิ้มของเรา เพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่ลูกหลานที่ร่วมตระกูลของเราต่อไป
หลังจากงานการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีการประกอบพิธีสมโภชเฉลิมฉลองศาลเจ้าหลังใหม่อย่างมโหราฬ เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1965 โดยทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระอริยวงศ์ศาตญาณ) เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดป้าย หลังจากเปิดป้ายแล้ว ก็ได้อันเชิญรูปเจ้าปู่บู๊เต็กโฮ้ว ซิ้มโจวกง ผู้เป็นต้นตระกูลแซ่ซิ้มขึ้นสู่แท่นที่ประทับในศาลเจ้าหลังใหม่ งานสมโภชในครั้งนี้ได้มีมหรสพ (งิ้ว) แสดงติดต่อกันสามวันสามคืน และยังมีสิงห์โตเข้าขบวนแห่ตามศาสนพิธี เพื่อความครึกครื้นและเป็นศิริมงคลแก่งานอีกด้วย บรรดาแขกผู้มีเกียรติที่ได้รับเชิญมาร่วมพิธี มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้าคหบดีทั้งชาวจีนและไทย ตลอดจนพี่น้องชาวตระกูลซิ้มรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,000 คน
เมื่องานการก่อสร้างสำเร็จลง ภาระหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้างก็ยุติลง และมีการเลือกตั้งคณะกรรมการฝ่ายบริหารงานของศาลเจ้าขึ้นใหม่ เพื่อที่จะดูแลรักษาผลประโยชน์และกิจการงานของศาลเจ้าให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการของชาวตระกูลแซ่ซิ้มควรจะได้รับการส่งเสริมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
โดยเหตุนี้คณะกรรมการพร้อมกันนั้นได้วางระเบียบข้อบังคับของศาลเจ้าแซ่ซิ้มให้รัดกุมยิ่งขึ้น และได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1965 ที่ประชุมได้เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารศาลเจ้า สมัยที่ 1 อันประกอบด้วยคณะกรรมการดังนี้
1. นาย โอวเจีย(กุ้ยเอี้ยง) แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) ประธานกรรมการ
2. นาย วิบูลย์ สินประสงค์ รองประธานกรรมการ
3. นาย ประจักษ์ พงศไพฑูรย์ กรรรมการเหรัญญิก
4. นาย กิมกุ่ง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขานุการ
5. นาย กวงตง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขานุการ
6. นาย กลิ่น ศิริสมบัติยืนยง กรรมการ
7. นาย ชนะ สิมะชาติ กรรมการ
8. นาย ย่งนิ้ม แซ่ซิ้ม กรรรมการ
9. นาย บุ่นไฮ้ แซ่ซิ้ม กรรมการ
10. นาย เกี่ยเซ้ง แซ่ซิ้ม กรรมการ
11. นาย บุญรักษ์ ศิริสมบัติยืนยง กรรมการ
12. นาย เลี่ยงเฮง แซ่ซิ้ม กรรมการ
13. นาย ชินเฮง แซ่ซิ้ม กรรมการ
14. นาย ฮวยคิก แซ่ซิ้ม กรรมการ
15. นาย ย่งเอี่ยม แซ่ซิ้ม กรรมการตรวจสอบ
เมื่อคณะกรรมการบริหารศาลเจ้า สมัยที่ 1 นำโดย คุณกุ้ยเอี้ยง แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) เป็น ประธานกรรมการ ก็ได้เริ่มกำหนดนโยบายการบริหารงานของศาลเจ้าโดยทันที ซึ่งนอกจากวางแผนงาน ขยายกิจการทั่วๆไปแล้ว ยังได้มีมติให้ก่อสร้างซุ้มประตูศาลเจ้า เพื่อเพิ่มความสง่างามของศาลเจ้ายิ่งไปขึ้นอีก รูปแบบซุ้มประตูและรั้วรอบศาลเจ้านั้น เกิดจากฝีมือของสถาปนิกชั้นแนวหน้าเช่นเดียวกัน ความวิจิตรงดงามของซุ้มประตูก็ได้ปรากฏแก่สายตาของประชาชนทุกวันนี้ และได้จัดพิธีฉลองการเปิดซุ้มประตูเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1966 และจัดให้มหรสพสมโภช เช่น งิ้ว อันเป็นการแสดงออกซึ่งความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของชาวตระกูลแซ่ซิ้มของเราอีกครั้งหนึ่ง
ต่อจากนั้นทางคณะกรรมการมูลนิธีสีมาสงเคราะห์ ยังได้จัดตั้งแผนกฌาปนกิจสงเคราะห์ขึ้นในสำนักงานในมูลนิธิสีมาสงเคราะห์ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1967 เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในด้านของฌาปนกิจหรือจัดการศพตามประเพณีนิยมแก่ บุคคลในตระกูลแซ่ซิ้ม ด้วยกัน และให้การสงเคราะห์แก่ครอบครัวของตระกูลแซ่ซิ้มที่ถึงแก่กรรม เพื่อเป็นการช่วยเหลือและสมานสามัคคีระหว่างบุคคลในตระกูลเดียวกัน ให้มีความสามัคคี
กิจการของศาลเจ้าแซ่ซิ้มภายใต้การอำนวยงานของคณะกรรมการบริหารศาลเจ้า สมัยที่ 1 ได้เจริญรุดหน้าไปเป็นอันมากเมื่อครบกำหนดการดำรงตำแหน่งกรรมการ 2 ปี ก็ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เพื่อรับหน้าที่สืบแทนคณะกรรมการ สมัยที่ 1 ต่อไป ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า คณะกรรมการบริหารศาลเจ้า สมัยที่ 2 ของศาลเจ้าแซ่ซิ้มประกอบด้วยคณะกรรมการดังต่อไปนี้
1. นาย วิบูลย์ สินประสงค์ ประธานกรรมการ
2. นาย กิมกวง แซ่ซิ้ม รองประธานกรรมการ
3. นาย สันต์ เชี่ยวนาวิน รองประธานกรรมการ
4. นาย ประจักษ์ พงศ์ไพฑูรย์ กรรมการเหรัญญิก
5. นาย ชนะ สิมะชาติ กรรมการรองเหรัญญิก
6. นาย กวงตง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขานุการ
7. นาย กิมกุ่ง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขารองเลขานุการ
8. นาย บุญรักษ์ ศิริสมบัติยืนยง กรรมการปฏิคม
9. นาย โอเจีย แซ่ซิ้ม กรรมการรองปฏิคม
10. นาย สุเทพ สีมารัตน์ กรรมการบริหาร
11. นาย กลิ่น ศิริสมบัติยืนยง กรรมการบริหาร
12. นาย กุ่ยเทียน แซ่ซิ้ม กรรมการ
13. นาย บุ่นไฮ้ แซ่ซิ้ม กรรมการ
14. นาย ย่งนิ้ม แซ่ซิ้ม กรรมการ
15. นาย เอี่ยวจั้ว แซ่ซิ้ม กรรมการ
16. นาย ย่งเอี่ยม แซซิ้ม กรรมการตรวจสอบบัญชี
17. นาย กุ้ยสุน แซ่ซิ้ม กรรมการรองตรวจสอบบัญชี
18. นาย ยูเชียง แซ่ซิม กรรมการ
19. นาย คุนเอียบ แซ่ซิ้ม กรรมการ
20. นาย โง้วอิ้ง แซ่ซิ้ม กรรมการ
21. นาย ชุนเล็ง แซ่ซิ้ม กรรมการ
คณะกรรมการสมัยที่ 2-4 นำโดย คุณวิบูลย์ สินประสงค์ เป็น ประธานกรรมการ ท่านผู้นี้ยังเป็นคนหนุ่มแน่น และเป็นผู้ที่มีความสามารถ จึงทำให้กิจการของศาลเจ้าแซ่ซิ้ม เจริญรุ่งเรื่องยิ่งขึ้นไปอีก สำหรับงานที่คณะกรรมการบริหารศาลเจ้า ได้ดำเนินไปพอที่จะสรุปผลได้ดังนี้คือ
1.ได้ร่วมมือกับสมาคม ศาลเจ้า และมูลนิธิต่างๆ ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสพอัคคีภัย อุทกภัย และสาธารณะภัยต่างๆ
2.ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกับสมาคม ศาลเจ้า และมูลนิธิต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ในการดำเนินงานของสมาคม ศาลเจ้า และมูลนิธิ
3.ร่วมกับสมาคมต่างๆ ศาลเจ้า และมูลนิธิ จัดงานสาธารณะกุศลและจัดงานรับรองแขกผู้มีเกียรติที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมาคม ศาลเจ้า และมูลนิธิเป็นครั้งคราว
คณะกรรมการสมัยที่ 5 นำโดย นายวิเทศ ศิริวัฒนเกศ เป็น ประธานกรรมการ ได้ริเริ่มสร้างอาคารหอประชุมสีมาสงเคราะห์ ขึ้นเพื่อรองรับคณะกรรมการที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งเป็นที่จัดเลี้ยงสังสรรค์ของสมาชิกลูกหลานตระกูลแซ่ซิ้ม
คณะกรรมการสมัยที่ 6-7 นำโดย คุณวิบูลย์ สินประสงค์ เป็น ประธานกรรมการ ได้สานต่องานจากคณะกรรมการสมัยที่ 5 ที่ได้ริเริ่มสร้างอาคารหอประชุมสีมาสงเคราะห์ จึงมีการก่อสร้างเรื่อยมาจนสำเร็จเสร็จสิ้น
คณะกรรมการสมัยที่ 8-9 นำโดย คุณกุ้ยเอี้ยง แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) เป็น ประธานกรรมการ ได้ดำเนินการบริหารศาลเจ้าแซ่ซิ้มด้วยความซื่อสัตย์ และยังมีการมอบทุนการศึกษาให้กับลูกหลานของสมาชิก เรื่อยมา
คณะกรรมการสมัยที่ 10 นำโดย คุณเลี่ยงเฮง แซ่ซิ้ม เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการสมัยที่ 11 นำโดย คุณกุ้ยเอี้ยง แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) เป็น ประธานกรรมการ
คณะกรรมการสมัยที่ 12 นำโดย คุณติ่งไฮ้ แซ่ซิ้ม เป็น ประธานกรรมการ
คณะกรรมการสมัยที่ 13 นำโดย คุณซุน เสนีย์ศรีสันติ เป็น ประธานกรรมการ นี้ ได้ช่วยเหลือบูรณะศาลเจ้าแซ่ซิ้มในต่างจังหวัด และยังนำช่างจากประเทศจีนมาบูรณะรูปปั้นองค์โจวกง พร้อมทั้งยังได้ซ่อมแซมและบูรณะหลังคาที่รั่วซึม
คณะกรรมการสมัยที่ 14-21 นำโดย คุณสิงห์ เขษมพุฒเรืองศรี เป็น ประธานกรรมการ ได้ทำการปรับปรุงผนังภายในศาลเจ้าทั้งหมดจนแล้วเสร็จ
คณะกรรมการสมัยที่ 22-26 นำโดย คุณธนเสฏฐ์ ศุภศรีสรรพ์ เป็น ประธานกรรมการ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมหลังคาของศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ และได้สร้างรูปแกะสลักขององค์โจวกงในชุดขุนนางฝ่ายบุ๋น และโจวม่า ขึ้น และประดิษฐานไว้ที่ด้านข้างซ้ายขวา ของโจวกงองค์เดิม
คณะกรรมการสมัยที่ 27 นำโดย คุณธนเดช ศุรธณี เป็น ประธานกรรมการ ได้ริเริ่มเปลี่ยนข้อกำหนดของการดำรงค์ตำแหน่งประธานกรรมการ จาก 2 ปี เป็น 4 ปี
คณะกรรมการสมัยที่ 28-29(สมัยปัจจุบัน ค.ศ.2022) นำโดย คุณจตุพนธ์ พิทักษ์ธีระธรรม เป็น ประธานกรรมการ ได้ดำริ และปรึกษาหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ เรื่องการดำเนินการสร้างเสามังกรหินแกรนิตแกะสลัก สูง 18.2 เมตร และศาลทีกง ขึ้นใหม่ แทนที่ของเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม และยังมีดำริ ในเรื่องการบูรณะซ่อม-สร้าง ศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ รวมถึงการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารหอประชุม ที่ทรุดโทรมไปตามการเวลา คณะกรรมการบริหารศาลเจ้าแซ่ซิ้ม สมัยปัจจุบัน(ค.ศ.2022) จึงได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ ว่าสมควรจะดำเนินการ สร้างเสามังกรหินแกรนิตแกะสลัก สูง 18.2 เมตร และบูรณะซ่อม-สร้าง ศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ รวมถึงการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารหอประชุม ไปพร้อมๆ กัน รวมงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการกว่า 20,000,000 บาท ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคณะกรรมการบริหารศาลเจ้าแซ่ซิ้ม สมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) , ลูกหลานชาวแซ่ซิ้ม และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน การก่อสร้างจึงได้ดำเนินงานไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง คาดว่างานก่อสร้างทั้งหมดทั้งสิ้น จะแล้วเสร็จภายในเดือน สิงหาคม ค.ศ. 2022 ถือเป็นการซ่อมสร้าง และบูรณะศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ ครั้งใหญ่ที่สุด ตั้งแต่มีการสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มขึ้นมา รายนามคณะกรรมการบริหารศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ สมัยที่ 23 (สมัยปัจจุบัน ค.ศ. 2022) มีดังต่อไปนี้ :
1. นาย จตุพนธ์ พิทักษ์ธีระธรรม ประธานกรรมการ
2. นาย สมศักดิ์ วณิชชัยวัฒกุล รองประธานบริหาร
3. นาย วารวัต สิมะสถาพรกุล รองประธานบริหาร
4. นาย ธีราศักดิ์ สุขะโชติพรชัย รองประธาน
5. นาย เทพมงคล ซ่อมประดิษฐ์ รองประธาน
6. นาย นกเล็ก ซิ้มสกุล รองประธาน
7. นาย ดำรง วิมลสมบัติ รองประธาน
8. นางสาว ศุลีพร สมบูรณ์กิตติชัย รองประธาน
9. นาย ชัยกฤต เสนีย์ศรีสันติ รองประธาน
10. นาย โพธิ์พันธ์ ใจมีธรรมดี รองประธาน
11. นาย ไพรัช สิมะวรา รองประธาน
12. นาย เชษฐา เศรษฐชาตนันท์ รองประธาน
13. นาย ภาณุมาศ รัตนภาส รองประธาน
14. นาง ศุภนา เครือภู่ กรรมการบริหาร
15. นาย จิรวัฒน์ ศิระวรารัศมิ์ กรรมการบริหาร
16. นาย สมนึก มานะชัยไพบูลย์ กรรมการบริหาร
17. นาย ก้องภพ สิมะพิเชฐ กรรมการบริหาร และหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์
18. นางสาว อรรัมภา เมฆใหญ่ กรรมการบริหาร และรองเหรัญญิก
19. นาย ชัยยงค์ ธนะศิรินาวิน กรรมการ
20. นาย พิบูลย์ ธนะศิรินาวิน กรรมการ
21. นาย สง่า สิมะวานิชกุล กรรมการ
22. นางสาว ภาวดี นกแก้ว กรรมการ
23. นาง นิธินันท์ นิธิถาวรทรัพย์ กรรมการ
24. นาย เกษม เขษมพุฒเรืองศรี กรรมการ
25. นางสาว ศุจีภรณ์ ซ่อมประดิษฐ์ กรรมการ
26. นาย ดำรงศักดิ์ ซ่อมประดิษฐ์ กรรมการ
27. นาง ชุนอี่ แซ่ซิ้ม กรรมการ
28. นาง ปิยะเนตร ดวงเดชเจริญผล กรรมการ
29. นาง วรางคณา เบญจวรกมล กรรมการ
30. นาย สุขสันต์ ธรรมนารถสกุล กรรมการ
31. นางสาว หยก แซ่ซิ้ม กรรมการ
ปัจจุบันนี้กิจการของศาสเจ้าแซ่ซิ้ม หรือเรียกชื่อว่า มูลนิธิสีมาสงเคราะห์ (ซิ้มกงจืออี่) ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของชาวตระกูลแซ่ซิ้มทุกคนเป็นประการสำคัญ อย่างไหร่ก็ดีภาระหน้าที่ของชาวตระกูลแซ่ซิ้มยังไม่สิ้นสุดเพียงนี้ ยังจะต้องขยายกิจการงานออกไปอีกตามที่วัตถุประสงค์ของมูลนิธิได้กำหนดไว้ เพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่พี่น้องชาวตระกูลแซ่ซิ้มของเราได้ทั่วถึง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณะกรรมการจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวตระกูลแซ่ซิ้มทั้งหลาย จะให้ความร่วมมือช่วยเหลือ และสนับสนุนกิจการของตระกูลแซ่ซิ้ม ต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ศาลเจ้าแซ่ซิ้มหรือมูลนิธีสีมาสงเคราะห์ (ซิ้มกงจืออี่) ของเราให้มีความยั่งยืนถาวรสืบต่อไปจนชั่วกาลนาน
คุณธรรมอันประเสริฐอย่างหนึ่งของมนุษย์เราก็คือ ต้องระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษด้วยการให้ความเคารพสักการะ และให้ความเมตตาปราณีเอ็นดูรักใคร่แก่ผู้เยาว์ซึ่งเป็นอนุชนรุ่นหลัง นักปราชญ์จีนสมัยโบราณได้พยายามพร่ำสอนคุณธรรมข้อนี้แก่คนจีนรุ่นหลังๆ ทุกยุคทุกสมัยตลอดมา พวกเราชาวตระกูลซิ้มทั้งหลายซึ่งได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในประเทศไทย นับเป็นเวลาร้อยๆ ปีล่วงมาแล้วนั้น ต่างซาบซึ้งในคำสอนดังกล่าวข้างต้นนี้มานานแล้ว
ดังนั้นในปี ค.ศ.1886 หัวหน้าชาวตระกูลซิ้ม 3 ท่าน ได้แก่ นายบ้วนเช้ง แซ่ซิ้ม , นายย่งกือ แซ่ซิ้ม และนายโจหงวน แซ่ซิ้ม มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า ชาวแซ่ซิ้มที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในย่านวงเวียนใหญ่ เขตธนุบรี กรุงเทพมหานคร มากขึ้นเป็นลำดับ จึงได้ริเริ่มก่อตั้งศาลเจ้าแซ่ซิ้มขึ้น ซึ่งความคิดนี้ ได้รับความสนับสนุนจากบรรดาลูกหลานชาวแซ่ซิ้มอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยลูกหลานชาวแซ่ซิ้มที่ร่วมบริจาคเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดในครั้งนั้นมีจำนวน 225 คน เมื่อรวบรวมเงินบริจาคได้แล้ว จึงได้ทำการซื้อที่ดินติดถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมทั้งสิ้น 2 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา ด้วยราคา 540 บาท และดำเนินการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้ม ขึ้นบนที่ดินนั้น รวมงบประมาณทั้งที่ดินและการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้ม เป็นจำนวน 1,862 บาท ลูกหลานชาวแซ่ซิ้ม จึงได้มีศาลเจ้าสำหรับสักการะบูชาบรรพบุรุษ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และนับเป็นศาลเจ้าประจำตระกูลที่ก่อตั้งขึ้นมาก่อนตระกูลอื่นใดทั้งหมด
ศาลเจ้าแซ่ซิ้มในสมัยนั้น ตัวอาคารมีเนื้อที่เพียง 20 ตารางวาเท่านั้น และโครงสร้างเป็นแบบง่ายๆ เมื่อการเวลาผ่านพ้นไป ตัวอาคารก็เริ่มเก่าแก่และชำรุดลง ประกอบกับพี่น้องร่วมตระกูลแซ่ซิ้มของเรามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ลูกหลานชาวตระกูลแซ่ซิ้ม และมิใช่แซ่ซิ้มพากันมากราบไหว้บูชาที่ศาลเจ้ามากขึ้น คณะกรรมการชาวตระกูลแซ่ซิ้มจึงได้ทำการซ่อมแซมและขยับขยายให้กว้างขวางออกไปอยู่เรื่อยมา
จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการในตระกูลแซ่ซิ้ม ได้แก่ นายเทียนฮ้อ แซ่ซิ้ม(สิมะวรา) , นายชนะ สิมะชาติ , นายกลิ่น ศิริสมบัติยืนยง และ นายโอวเจีย(กุ้ยเอี้ยง) แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) ได้ปรึกษาหารือกัน และเห็นสมควรว่า จะก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มขึ้นใหม่ให้กว้างขวางและงดงามยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพราะศาลเจ้าหลังเดิมนอกจากจะชำรุดทรุดโทรมทุกวันแล้ว บริเวณศาลเจ้ายังคับแคบไม่พอเพียงแก่ลูกหลานชาวตระกูลแซ่ซิ้ม และประชาชนอื่นทั่วไปที่เข้ามาทำพิธีกรรม กราบไหว้บูชา คณะกรรมการผู้ริเริ่มทั้ง 4 คน ต่างมีความเห็นพร้อมต้องกันว่า ควรจะก่อสร้างอาคารศาลเจ้าหลังใหม่ขึ้น
หลังจากได้มีการปรึกษาหารือวางแผนกันหลายครั้งแล้ว คณะกรรมการผู้ริเริ่มทั้ง 4 คน ก็ได้ไปขอความเห็นจากผู้ร่วมตระกูลแซ่ซิ้มอีกหลายท่าน ปรากฏว่าได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดี ยังผลให้คณะกรรมการผู้ริเริ่มมีกำลังใจในการทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย ชาวตระกูลแซ่ซิ้มได้จัดให้มีการประชุมขึ้น เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้าง และมีผู้ที่เป็นคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้างดังนี้ คือ
1. นาย เทียนฮ้อ แซ่ซิ้ม ประธานกรรมการ
2. นาย ชนะ สิมะชาติ รองประธานกรรมการ
3. นาย กลิ่น ศิริสมบัติยืนยง รองประธานกรรมการ
4. นาย เต็กเม่งฮวด แซ่ซิ้ม กรรมการเหรัญญิก
5. นาย วิบูลย์ สินประสงค์ กรรมการรองเหรัญญิก
6. นาย กวงตง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขานุการ
7. นาย กิมกุ่ง แซ่ซิ้ม กรรมการรองเลขานุการ
8. นาย ไฮง้วน แซ่ซิ้ม กรรมการ
9. นาย เลี่ยงเฮง แซ่ซิ้ม กรรมการ
10. นาย บูหั่ง แซ่ซิ้ม กรรมการ
11. นาย ซงซัว แซ่ซิ้ม กรรมการ
12. นาย โอวเจีย แซ่ซิ้ม กรรมการปฏิคม
13. นาย ชุนเป้ง แซ่ซิ้ม กรรมการรองปฏิคม
14. นาย กิมกวง แซ่ซิ้ม กรรมการควบคุมทั่วไป
15. นาย ประชา สิมะชาติ กรรมการตรวจสอบบัญชีการเงิน
16. นาย คุนกี่ แซ่ซิ้ม กรรมการตรวจสอบบัญชีการเงิน
และในขณะที่กำลังทำการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มอยู่นั้น คณะกรรมการก็ได้มอบให้นายวิบูลย์ สินประสงค์ เป็นผู้ไปขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ชื่อว่า มูลนิธีสีมาสงเคราะห์ (ซิ้มกงจืออี่) โดยมีนาย วิบูลย์ สินประสงค์ ได้บริจาคทรัพย์เพื่อเป็นทุนดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในขั้นตอน จำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาท
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ มีดังนี้คือ
1. ส่งเสริมการกุศล และสาธารณะกุศล
2. ส่งเสริมการศึกษาวัฒนธรรม
3. ช่วยเหลือผู้ประสงภัยต่างๆ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น
4. จัดตั้งสถานพยาบาล โรงเรียน สุสาน ณาปนสถาน ศาลบูชาผู้ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจน สาธารณะกุศล ทั่วไป ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด ซึ่งนำโดย ประธานมูลนิธิสีมาสงเคราะห์ ท่านแรก คือ พล ร.ต. ประสิทธิ์ ใบเงิน
จากนั้นคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้าง ก็ได้ดำเนินการก่อสร้างไปจนกระทั่งงานก่อสร้างได้บรรลุผลสำเร็จ ด้วยความช่วยเหลือของลูกหลานชาวตระกูลแซ่ซิ้มทุกคนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ทำการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มหลังใหม่นี้ได้สำเร็จเป็นเวลาทั้งสิ้น 3 ปีเศษ โดยช่างผู้ชำนาญสร้างตามแบบอย่างของจีนสมัยโบราณ ซึ่งมีฝีมือในการก่อสร้างได้วิจิตรงดงามมากเพื่อที่จะได้เป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังสืบต่อไป ณ ปี ค.ศ. 1965 มูลค่าทรัพย์สินของศาลเจ้าแซ่ซิ้มมีมูลค่ากว่า 700,000 บาท
ชาวตระกูลซิ้มทุกคนในสมัยนั้นย่อมตระหนักดีว่า การที่เราสามารถก่อสร้างศาลเจ้าหลังใหม่นี้ขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ ก็ด้วยความพยายามและความเสียสละของชาวตระกูลแซ่ซิ้มทุกคน ซึ่งคุณงามความดีของบรรดาท่านผู้มีส่วนช่วยเหลือในครั้งนี้ ย่อมจะได้จารึกลงในประวัติของชาวตระกูลแซ่ซิ้มของเรา เพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่ลูกหลานที่ร่วมตระกูลของเราต่อไป
หลังจากงานการก่อสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีการประกอบพิธีสมโภชเฉลิมฉลองศาลเจ้าหลังใหม่อย่างมโหราฬ เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1965 โดยทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระอริยวงศ์ศาตญาณ) เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดป้าย หลังจากเปิดป้ายแล้ว ก็ได้อันเชิญรูปเจ้าปู่บู๊เต็กโฮ้ว ซิ้มโจวกง ผู้เป็นต้นตระกูลแซ่ซิ้มขึ้นสู่แท่นที่ประทับในศาลเจ้าหลังใหม่ งานสมโภชในครั้งนี้ได้มีมหรสพ (งิ้ว) แสดงติดต่อกันสามวันสามคืน และยังมีสิงห์โตเข้าขบวนแห่ตามศาสนพิธี เพื่อความครึกครื้นและเป็นศิริมงคลแก่งานอีกด้วย บรรดาแขกผู้มีเกียรติที่ได้รับเชิญมาร่วมพิธี มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้าคหบดีทั้งชาวจีนและไทย ตลอดจนพี่น้องชาวตระกูลซิ้มรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,000 คน
เมื่องานการก่อสร้างสำเร็จลง ภาระหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้างก็ยุติลง และมีการเลือกตั้งคณะกรรมการฝ่ายบริหารงานของศาลเจ้าขึ้นใหม่ เพื่อที่จะดูแลรักษาผลประโยชน์และกิจการงานของศาลเจ้าให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการของชาวตระกูลแซ่ซิ้มควรจะได้รับการส่งเสริมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
โดยเหตุนี้คณะกรรมการพร้อมกันนั้นได้วางระเบียบข้อบังคับของศาลเจ้าแซ่ซิ้มให้รัดกุมยิ่งขึ้น และได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1965 ที่ประชุมได้เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารศาลเจ้า สมัยที่ 1 อันประกอบด้วยคณะกรรมการดังนี้
1. นาย โอวเจีย(กุ้ยเอี้ยง) แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) ประธานกรรมการ
2. นาย วิบูลย์ สินประสงค์ รองประธานกรรมการ
3. นาย ประจักษ์ พงศไพฑูรย์ กรรรมการเหรัญญิก
4. นาย กิมกุ่ง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขานุการ
5. นาย กวงตง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขานุการ
6. นาย กลิ่น ศิริสมบัติยืนยง กรรมการ
7. นาย ชนะ สิมะชาติ กรรมการ
8. นาย ย่งนิ้ม แซ่ซิ้ม กรรรมการ
9. นาย บุ่นไฮ้ แซ่ซิ้ม กรรมการ
10. นาย เกี่ยเซ้ง แซ่ซิ้ม กรรมการ
11. นาย บุญรักษ์ ศิริสมบัติยืนยง กรรมการ
12. นาย เลี่ยงเฮง แซ่ซิ้ม กรรมการ
13. นาย ชินเฮง แซ่ซิ้ม กรรมการ
14. นาย ฮวยคิก แซ่ซิ้ม กรรมการ
15. นาย ย่งเอี่ยม แซ่ซิ้ม กรรมการตรวจสอบ
เมื่อคณะกรรมการบริหารศาลเจ้า สมัยที่ 1 นำโดย คุณกุ้ยเอี้ยง แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) เป็น ประธานกรรมการ ก็ได้เริ่มกำหนดนโยบายการบริหารงานของศาลเจ้าโดยทันที ซึ่งนอกจากวางแผนงาน ขยายกิจการทั่วๆไปแล้ว ยังได้มีมติให้ก่อสร้างซุ้มประตูศาลเจ้า เพื่อเพิ่มความสง่างามของศาลเจ้ายิ่งไปขึ้นอีก รูปแบบซุ้มประตูและรั้วรอบศาลเจ้านั้น เกิดจากฝีมือของสถาปนิกชั้นแนวหน้าเช่นเดียวกัน ความวิจิตรงดงามของซุ้มประตูก็ได้ปรากฏแก่สายตาของประชาชนทุกวันนี้ และได้จัดพิธีฉลองการเปิดซุ้มประตูเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1966 และจัดให้มหรสพสมโภช เช่น งิ้ว อันเป็นการแสดงออกซึ่งความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของชาวตระกูลแซ่ซิ้มของเราอีกครั้งหนึ่ง
ต่อจากนั้นทางคณะกรรมการมูลนิธีสีมาสงเคราะห์ ยังได้จัดตั้งแผนกฌาปนกิจสงเคราะห์ขึ้นในสำนักงานในมูลนิธิสีมาสงเคราะห์ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1967 เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในด้านของฌาปนกิจหรือจัดการศพตามประเพณีนิยมแก่ บุคคลในตระกูลแซ่ซิ้ม ด้วยกัน และให้การสงเคราะห์แก่ครอบครัวของตระกูลแซ่ซิ้มที่ถึงแก่กรรม เพื่อเป็นการช่วยเหลือและสมานสามัคคีระหว่างบุคคลในตระกูลเดียวกัน ให้มีความสามัคคี
กิจการของศาลเจ้าแซ่ซิ้มภายใต้การอำนวยงานของคณะกรรมการบริหารศาลเจ้า สมัยที่ 1 ได้เจริญรุดหน้าไปเป็นอันมากเมื่อครบกำหนดการดำรงตำแหน่งกรรมการ 2 ปี ก็ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เพื่อรับหน้าที่สืบแทนคณะกรรมการ สมัยที่ 1 ต่อไป ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า คณะกรรมการบริหารศาลเจ้า สมัยที่ 2 ของศาลเจ้าแซ่ซิ้มประกอบด้วยคณะกรรมการดังต่อไปนี้
1. นาย วิบูลย์ สินประสงค์ ประธานกรรมการ
2. นาย กิมกวง แซ่ซิ้ม รองประธานกรรมการ
3. นาย สันต์ เชี่ยวนาวิน รองประธานกรรมการ
4. นาย ประจักษ์ พงศ์ไพฑูรย์ กรรมการเหรัญญิก
5. นาย ชนะ สิมะชาติ กรรมการรองเหรัญญิก
6. นาย กวงตง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขานุการ
7. นาย กิมกุ่ง แซ่ซิ้ม กรรมการเลขารองเลขานุการ
8. นาย บุญรักษ์ ศิริสมบัติยืนยง กรรมการปฏิคม
9. นาย โอเจีย แซ่ซิ้ม กรรมการรองปฏิคม
10. นาย สุเทพ สีมารัตน์ กรรมการบริหาร
11. นาย กลิ่น ศิริสมบัติยืนยง กรรมการบริหาร
12. นาย กุ่ยเทียน แซ่ซิ้ม กรรมการ
13. นาย บุ่นไฮ้ แซ่ซิ้ม กรรมการ
14. นาย ย่งนิ้ม แซ่ซิ้ม กรรมการ
15. นาย เอี่ยวจั้ว แซ่ซิ้ม กรรมการ
16. นาย ย่งเอี่ยม แซซิ้ม กรรมการตรวจสอบบัญชี
17. นาย กุ้ยสุน แซ่ซิ้ม กรรมการรองตรวจสอบบัญชี
18. นาย ยูเชียง แซ่ซิม กรรมการ
19. นาย คุนเอียบ แซ่ซิ้ม กรรมการ
20. นาย โง้วอิ้ง แซ่ซิ้ม กรรมการ
21. นาย ชุนเล็ง แซ่ซิ้ม กรรมการ
คณะกรรมการสมัยที่ 2-4 นำโดย คุณวิบูลย์ สินประสงค์ เป็น ประธานกรรมการ ท่านผู้นี้ยังเป็นคนหนุ่มแน่น และเป็นผู้ที่มีความสามารถ จึงทำให้กิจการของศาลเจ้าแซ่ซิ้ม เจริญรุ่งเรื่องยิ่งขึ้นไปอีก สำหรับงานที่คณะกรรมการบริหารศาลเจ้า ได้ดำเนินไปพอที่จะสรุปผลได้ดังนี้คือ
1.ได้ร่วมมือกับสมาคม ศาลเจ้า และมูลนิธิต่างๆ ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสพอัคคีภัย อุทกภัย และสาธารณะภัยต่างๆ
2.ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกับสมาคม ศาลเจ้า และมูลนิธิต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ในการดำเนินงานของสมาคม ศาลเจ้า และมูลนิธิ
3.ร่วมกับสมาคมต่างๆ ศาลเจ้า และมูลนิธิ จัดงานสาธารณะกุศลและจัดงานรับรองแขกผู้มีเกียรติที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมาคม ศาลเจ้า และมูลนิธิเป็นครั้งคราว
คณะกรรมการสมัยที่ 5 นำโดย นายวิเทศ ศิริวัฒนเกศ เป็น ประธานกรรมการ ได้ริเริ่มสร้างอาคารหอประชุมสีมาสงเคราะห์ ขึ้นเพื่อรองรับคณะกรรมการที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งเป็นที่จัดเลี้ยงสังสรรค์ของสมาชิกลูกหลานตระกูลแซ่ซิ้ม
คณะกรรมการสมัยที่ 6-7 นำโดย คุณวิบูลย์ สินประสงค์ เป็น ประธานกรรมการ ได้สานต่องานจากคณะกรรมการสมัยที่ 5 ที่ได้ริเริ่มสร้างอาคารหอประชุมสีมาสงเคราะห์ จึงมีการก่อสร้างเรื่อยมาจนสำเร็จเสร็จสิ้น
คณะกรรมการสมัยที่ 8-9 นำโดย คุณกุ้ยเอี้ยง แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) เป็น ประธานกรรมการ ได้ดำเนินการบริหารศาลเจ้าแซ่ซิ้มด้วยความซื่อสัตย์ และยังมีการมอบทุนการศึกษาให้กับลูกหลานของสมาชิก เรื่อยมา
คณะกรรมการสมัยที่ 10 นำโดย คุณเลี่ยงเฮง แซ่ซิ้ม เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการสมัยที่ 11 นำโดย คุณกุ้ยเอี้ยง แซ่ซิ้ม(สิมะพิเชฐ) เป็น ประธานกรรมการ
คณะกรรมการสมัยที่ 12 นำโดย คุณติ่งไฮ้ แซ่ซิ้ม เป็น ประธานกรรมการ
คณะกรรมการสมัยที่ 13 นำโดย คุณซุน เสนีย์ศรีสันติ เป็น ประธานกรรมการ นี้ ได้ช่วยเหลือบูรณะศาลเจ้าแซ่ซิ้มในต่างจังหวัด และยังนำช่างจากประเทศจีนมาบูรณะรูปปั้นองค์โจวกง พร้อมทั้งยังได้ซ่อมแซมและบูรณะหลังคาที่รั่วซึม
คณะกรรมการสมัยที่ 14-21 นำโดย คุณสิงห์ เขษมพุฒเรืองศรี เป็น ประธานกรรมการ ได้ทำการปรับปรุงผนังภายในศาลเจ้าทั้งหมดจนแล้วเสร็จ
คณะกรรมการสมัยที่ 22-26 นำโดย คุณธนเสฏฐ์ ศุภศรีสรรพ์ เป็น ประธานกรรมการ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมหลังคาของศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ และได้สร้างรูปแกะสลักขององค์โจวกงในชุดขุนนางฝ่ายบุ๋น และโจวม่า ขึ้น และประดิษฐานไว้ที่ด้านข้างซ้ายขวา ของโจวกงองค์เดิม
คณะกรรมการสมัยที่ 27 นำโดย คุณธนเดช ศุรธณี เป็น ประธานกรรมการ ได้ริเริ่มเปลี่ยนข้อกำหนดของการดำรงค์ตำแหน่งประธานกรรมการ จาก 2 ปี เป็น 4 ปี
คณะกรรมการสมัยที่ 28-29(สมัยปัจจุบัน ค.ศ.2022) นำโดย คุณจตุพนธ์ พิทักษ์ธีระธรรม เป็น ประธานกรรมการ ได้ดำริ และปรึกษาหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ เรื่องการดำเนินการสร้างเสามังกรหินแกรนิตแกะสลัก สูง 18.2 เมตร และศาลทีกง ขึ้นใหม่ แทนที่ของเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม และยังมีดำริ ในเรื่องการบูรณะซ่อม-สร้าง ศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ รวมถึงการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารหอประชุม ที่ทรุดโทรมไปตามการเวลา คณะกรรมการบริหารศาลเจ้าแซ่ซิ้ม สมัยปัจจุบัน(ค.ศ.2022) จึงได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ ว่าสมควรจะดำเนินการ สร้างเสามังกรหินแกรนิตแกะสลัก สูง 18.2 เมตร และบูรณะซ่อม-สร้าง ศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ รวมถึงการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารหอประชุม ไปพร้อมๆ กัน รวมงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการกว่า 20,000,000 บาท ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคณะกรรมการบริหารศาลเจ้าแซ่ซิ้ม สมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) , ลูกหลานชาวแซ่ซิ้ม และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน การก่อสร้างจึงได้ดำเนินงานไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง คาดว่างานก่อสร้างทั้งหมดทั้งสิ้น จะแล้วเสร็จภายในเดือน สิงหาคม ค.ศ. 2022 ถือเป็นการซ่อมสร้าง และบูรณะศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ ครั้งใหญ่ที่สุด ตั้งแต่มีการสร้างศาลเจ้าแซ่ซิ้มขึ้นมา รายนามคณะกรรมการบริหารศาลเจ้าแซ่ซิ้มกรุงเทพ สมัยที่ 23 (สมัยปัจจุบัน ค.ศ. 2022) มีดังต่อไปนี้ :
1. นาย จตุพนธ์ พิทักษ์ธีระธรรม ประธานกรรมการ
2. นาย สมศักดิ์ วณิชชัยวัฒกุล รองประธานบริหาร
3. นาย วารวัต สิมะสถาพรกุล รองประธานบริหาร
4. นาย ธีราศักดิ์ สุขะโชติพรชัย รองประธาน
5. นาย เทพมงคล ซ่อมประดิษฐ์ รองประธาน
6. นาย นกเล็ก ซิ้มสกุล รองประธาน
7. นาย ดำรง วิมลสมบัติ รองประธาน
8. นางสาว ศุลีพร สมบูรณ์กิตติชัย รองประธาน
9. นาย ชัยกฤต เสนีย์ศรีสันติ รองประธาน
10. นาย โพธิ์พันธ์ ใจมีธรรมดี รองประธาน
11. นาย ไพรัช สิมะวรา รองประธาน
12. นาย เชษฐา เศรษฐชาตนันท์ รองประธาน
13. นาย ภาณุมาศ รัตนภาส รองประธาน
14. นาง ศุภนา เครือภู่ กรรมการบริหาร
15. นาย จิรวัฒน์ ศิระวรารัศมิ์ กรรมการบริหาร
16. นาย สมนึก มานะชัยไพบูลย์ กรรมการบริหาร
17. นาย ก้องภพ สิมะพิเชฐ กรรมการบริหาร และหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์
18. นางสาว อรรัมภา เมฆใหญ่ กรรมการบริหาร และรองเหรัญญิก
19. นาย ชัยยงค์ ธนะศิรินาวิน กรรมการ
20. นาย พิบูลย์ ธนะศิรินาวิน กรรมการ
21. นาย สง่า สิมะวานิชกุล กรรมการ
22. นางสาว ภาวดี นกแก้ว กรรมการ
23. นาง นิธินันท์ นิธิถาวรทรัพย์ กรรมการ
24. นาย เกษม เขษมพุฒเรืองศรี กรรมการ
25. นางสาว ศุจีภรณ์ ซ่อมประดิษฐ์ กรรมการ
26. นาย ดำรงศักดิ์ ซ่อมประดิษฐ์ กรรมการ
27. นาง ชุนอี่ แซ่ซิ้ม กรรมการ
28. นาง ปิยะเนตร ดวงเดชเจริญผล กรรมการ
29. นาง วรางคณา เบญจวรกมล กรรมการ
30. นาย สุขสันต์ ธรรมนารถสกุล กรรมการ
31. นางสาว หยก แซ่ซิ้ม กรรมการ
ปัจจุบันนี้กิจการของศาสเจ้าแซ่ซิ้ม หรือเรียกชื่อว่า มูลนิธิสีมาสงเคราะห์ (ซิ้มกงจืออี่) ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของชาวตระกูลแซ่ซิ้มทุกคนเป็นประการสำคัญ อย่างไหร่ก็ดีภาระหน้าที่ของชาวตระกูลแซ่ซิ้มยังไม่สิ้นสุดเพียงนี้ ยังจะต้องขยายกิจการงานออกไปอีกตามที่วัตถุประสงค์ของมูลนิธิได้กำหนดไว้ เพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่พี่น้องชาวตระกูลแซ่ซิ้มของเราได้ทั่วถึง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณะกรรมการจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวตระกูลแซ่ซิ้มทั้งหลาย จะให้ความร่วมมือช่วยเหลือ และสนับสนุนกิจการของตระกูลแซ่ซิ้ม ต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ศาลเจ้าแซ่ซิ้มหรือมูลนิธีสีมาสงเคราะห์ (ซิ้มกงจืออี่) ของเราให้มีความยั่งยืนถาวรสืบต่อไปจนชั่วกาลนาน